Thailand Watchlist 2024

PRESS RELEASE

Thailand added to human rights Watchlist as activists and opposition targeted

10 July 2024

  • Activists and the opposition are being prosecuted, convicted and imprisoned for royal defamation
  • Women and LGBTQI+ activists unlawfully targeted with digital surveillance
  • There has been an upsurge in transnational repression directed at foreign activists seeking refugee protection in Thailand
  • Opposition Move Forward Party is at risk of being dissolved

[Johannesburg] – The CIVICUS Monitor has added Thailand to its watchlist of countries experiencing rapid declines in civic freedoms, due to the targeting of activists, critics and the opposition by the government of Prime Minister Srettha Thavisin.

In recent months, the government has continued to use royal defamation (lèse-majesté) provisions or Article 112 to arrest and convict activists, critics and politicians on charges of insulting the monarchy. Courts routinely deny bail to individuals charged or impose strict conditions in cases where bail is granted. According to Thai Lawyers for Human Rights (TLHR), since early 2020, more than 270 people have been charged with violating the law and at least 17 are being held in pre-trial detention.

Prominent human rights lawyer and democracy activist Arnon Nampa was sentenced to a further two years imprisonment in April 2024, while in May 2024, an opposition lawmaker and activist Chonthicha Jangrew of the Move Forward Party was sentenced to two years jail. Activist Netiporn ‘Bung’ Sanesangkhom, who had been campaigning to repeal the lèse majesté provision, died in custody in May 2024, after suffering a cardiac arrest. No one has been held accountable for her death.

Despite recently legalising same sex marriage, human rights groups have also raised concerns about women and LGBTQI+ activists being unlawfully targeted with digital surveillance, including Pegasus spyware and online harassment, by state and non-state actors, in an effort to silence them.

“Thai authorities must drop the cases of all those charged with lèse-majesté and release all those in pre-trial detention or have been convicted. Article 112 is inconsistent with Thailand’s international human rights obligations and must be amended immediately. The authorities must also launch an independent, thorough, and effective investigation into the use of the Pegasus spyware against activists that has created a chilling effect among activists,” said Josef Benedict, CIVICUS Asia researcher.

The CIVICUS Monitor is also concerned about transnational repression in Thailand. Human rights groups have reported an upsurge in repression directed at foreign nationals seeking refugee protection in Thailand. Foreign governments have subjected exiled dissidents and activists to harassment, surveillance and physical violence, often with the cooperation and knowledge of Thai authorities. Most recently, Vietnamese activist Y Quynh Bdap was detained in Thailand on 11 June 2024 and is at risk of deportation, where he could be subjected to severe persecution.

“It is extremely worrying that a country that is seeking a place on the UN Human Rights Council is facilitating harassment, surveillance, and physical violence of activists from abroad seeking refuge in Thailand. The authorities must end such actions and instead create a safe haven for activists fleeing persecution from neighboring countries,” added Benedict

The opposition Move Forward Party – that won the highest number of seats in parliamentary elections in 2023 - is at risk of being dissolved by the Constitutional Court and its executives face a 10-year ban on political activity for their pledge to amend the royal defamation provisions. The petition to the courts was filed by the Election Commission.

Disbanding the Move Forward Party would violate the rights to freedom of association and undermine the progress made to restore democracy following the coup and military rule.

About the CIVICUS Monitor

Over twenty organisations collaborate on the CIVICUS Monitor to provide an evidence base for action to improve civic space on all continents. Civic freedoms in 198 countries and territories are categorised as either ‘closed,’ ‘repressed,’ ‘obstructed,’ ‘narrowed’ or ‘open,’ based on a methodology that combines several data sources on the freedoms of association, peaceful assembly and expression.

Thailand is currently rated ‘Repressed’ by the CIVICUS Monitor. There are a total of 50 countries in the world with this rating (see all). This rating is typically given to countries where civic space is heavily contested by power holders, who impose a combination of legal and practical constraints on the full enjoyment of fundamental rights (see the full description of ratings).

For more information or to arrange an interview, please contact: media@civicus.org


ประเทศไทยถูกเพิ่มในบัญชีเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรมและฝ่ายค้านตกเป็นเป้าและถูกเพ่งเล็ง

10 กรกฎาคม

  • นักกิจกรรมและฝ่ายค้านกําลังถูกดําเนินคดี ถูกตัดสินลงโทษ และจำคุกในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
  • ผู้หญิงและนักกิจกรรม LGBTQI+ ตกเป็นเป้าอย่างผิดกฎหมาย โดยการติดตามจับตาเฝ้ามองทางดิจิทัล
  • มีการเพิ่มขึ้นของการปราบปรามข้ามชาติที่มุ่งเป้าไปยังนักกิจกรรมต่างชาติที่แสวงหาการคุ้มครองจากการลี้ภัยในประเทศไทย
  • พรรคก้าวไกลซึ่งเป็นฝ่ายค้านเสี่ยงถูกยุบพรรค

[โจฮันเนสเบิร์ก] – CIVICUS Monitor

องค์กร CIVICUS Monitor ได้เพิ่มประเทศไทยในรายการเฝ้าระวังประเทศที่เผชิญปัญหาการลดลงของเสรีภาพพลเมืองอย่างรวดเร็ว โดยการที่นักกิจกรรม ผู้วิพากษ์วิจารณ์ และการคัดค้านถูกเพ่งเล็งโดยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลฯยังคงใช้บทบัญญัติหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือมาตรา 112 เพื่อจับกุมและตัดสินลงโทษนักกิจกรรม นักวิจารณ์ และนักการเมืองในข้อหาดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ศาลมักปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องหา หรือกําหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดในกรณีที่อนุญาตให้ประกันตัว จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) ตั้งแต่ต้นปี 2563 มีผู้ถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายนี้มากกว่า 270 คน และอย่างน้อย 17 คนได้ถูกควบคุมตัวก่อนการพิจารณาคดี

ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยชื่อดัง อานนท์ นําภา ถูกตัดสินจําคุกเพิ่มอีก 2 ปีในเดือนเมษายน 2567 ขณะที่ในเดือนพฤษภาคม 2567 ชลธิชา แจ้งเร็ว นักการเมืองฝ่ายนิติบัญญัติและนักกิจกรรมฝ่ายค้านจากพรรคก้าวไกลถูกตัดสินจําคุกสองปี นักกิจกรรม เนติพร 'บุ้ง' เสน่ห์สังคม ผู้เคยรณรงค์ให้ยกเลิกบทบัญญัติหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวในเดือนพฤษภาคม 2567 หลังจากประสบภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่ไม่มีใครรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของเธอ

แม้ว่าเมื่อเร็ว ๆ คนเพศเดียวกันสามารถแต่งงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนยังคงหยิบยกข้อกังวลเกี่ยวกับนักกิจกรรมผู้หญิง และ LGBTQI+ ที่ตกเป็นเป้าอย่างผิดกฎหมายโดยการติดตามจับตาเฝ้ามองทางดิจิทัล รวมถึงสปายแวร์เพกาซัส และการล่วงละเมิดทางออนไลน์โดยรัฐและที่ไม่ใช่รัฐ เพื่อพยายามปิดปากพวกเขา

"ทางการไทยต้องยกเลิกคดีของผู้ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งหมด และปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังก่อนการพิจารณาคดี หรือถูกตัดสินว่ามีความผิดทั้งหมด มาตรา 112 ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของประเทศไทย และต้องมีการแก้ไขทันที เจ้าหน้าที่ทางการต้องเริ่มดำเนินการสอบสวนที่เป็นอิสระ ละเอียดถี่ถ้วน และอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการใช้สปายแวร์เพกาซัส ที่สร้างความหวาดกลัวในหมู่นักกิจกรรม" โจเซฟ เบเนดิกต์ นักวิจัยของ CIVICUS Asia กล่าว

นอกจากนี้ CIVICUS Monitor ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการปราบปรามข้ามชาติในประเทศไทย กลุ่มสิทธิมนุษยชนรายงานว่ามีการปราบปรามชาวต่างชาติที่แสวงหาการคุ้มครองเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเพิ่มขึ้น รัฐบาลประเทศต่างๆได้มีการกระทำต่อผู้เห็นต่างและนักกิจกรรมที่ต้องลี้ภัยมาประเทศไทย โดยการคุกคาม การจับตาเฝ้ามอง และการทำร้ายร่างกาย โดยมักได้รับความร่วมมือและความรู้เห็นจากทางการไทย ล่าสุด Y Quynh Bdap นักเคลื่อนไหวชาวเวียดนามถูกควบคุมตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 และมีความเสี่ยงที่จะถูกเนรเทศกลับไปประเทศต้นทาง ซึ่งเขาอาจถูกประหัตประหารอย่างรุนแรง

"เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่งเมื่อประเทศที่กําลังสมัครตําแหน่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกําลังเอื้ออํานวยการคุกคาม การจับตาเฝ้ามอง และการทำร้ายร่างกาย ของนักกิจกรรมจากต่างประเทศที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทย

ทางการต้องยุติการกระทําดังกล่าวและสร้างที่หลบภัยที่ปลอดภัยสําหรับนักกิจกรรมที่หลบหนีการประหัตประหารจากประเทศเพื่อนบ้านแทน" เบเนดิกต์กล่าวเสริม

พรรคก้าวไกลซึ่งเป็นฝ่ายค้าน ได้รับที่นั่งมากสุดในการเลือกตั้งรัฐสภาในปี 2566 มีความเสี่ยงที่จะถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค และฝ่ายบริหารของพรรคอาจถูกสั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากการให้คำมั่นที่จะแก้ไขบทบัญญัติหมิ่นประมาทพระราชวงศ์ โดยที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล

การยุบพรรคก้าวไกลจะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการสมาคม และมีผลเสียต่อความคืบหน้าในการฟื้นฟูประชาธิปไตยภายหลังการรัฐประหารและการปกครองของทหาร

เกี่ยวกับ CIVICUS Monitor

องค์กรกว่า 20 แห่งร่วมมือกันในการจัดทำ CIVICUS Monitor เพื่อเป็นฐานหลักฐานสําหรับการดําเนินการเพื่อปรับปรุงพื้นที่พลเมืองในทุกทวีป เสรีภาพของพลเมืองใน 198 ประเทศและดินแดนถูกจัดประเภทเป็น 'ปิด' 'ถูกกดขี่' 'ถูกขัดขวาง' 'แคบลง' หรือ 'เปิด' ตามวิธีการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งเกี่ยวกับเสรีภาพในการสมาคม การชุมนุมอย่างสงบ และการออกเสียง

ปัจจุบันประเทศไทยได้ถูกจัดให้อยู่อันดับ 'ถูกกดขี่' โดย CIVICUS Monitor ซึ่งมีทั้งหมด 50 ประเทศในโลกที่อยู่ในอันดับนี้ (ดูทั้งหมด)

โดยทั่วไป อันดับนี้จะมอบให้ประเทศที่พื้นที่พลเมืองถูกพิพาทอย่างหนักโดยผู้ที่มีอํานาจกําหนดข้อจํากัด ทางกฎหมายและทางปฏิบัติ ในการที่ประชาชนจะมีโอกาศได้ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเต็มที่ (ดูคําอธิบายทั้งหมดของการให้คะแนน)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดสัมภาษณ์ได้ที่ media@civicus.org